80ปีวันรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 16:00 น.
วันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ
เรียกให้ถูกก็ต้องเรียกว่าวันที่ระลึกแห่งการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
ทางราชการประกาศเป็นวันสำคัญของชาติมาตั้งแต่ พ.ศ.2475-2476
และได้เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีกด้วย
ยิ่งปีนี้ตรงกับวันจันทร์เลยได้หยุดยาวตั้งแต่เสาร์ที่ 8 ยันจันทร์ที่ 10
ธันวาคม อาจมีบ้างที่เห็นว่าไหน ๆ ก็หยุดราชการมาตั้งแต่วันพุธที่ 5
ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาแล้ว จะลาหยุดวันพฤหัสที่ 6
และวันศุกร์ที่ 7 อีกสองวันจะเป็นไร ทีนี้ยาวล่ะครับ!
สมัยก่อนช่วงวันที่ 10 ธันวาคมจะมีงานรื่นเริงใหญ่ที่สวนสราญรมย์และทางการส่งเสริมให้ทุกจังหวัด จัดทั่วประเทศเหมือนงานกาชาดทุกวันนี้เรียกว่างานวันรัฐธรรมนูญ ไฮไลต์อยู่ที่การประกวดนางงาม แรก ๆ เรียกว่านางสาวสยาม พอเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทยแล้วก็เรียกว่านางสาวไทย
นางสาวสยามคนแรกชื่อกันยา เทียนสว่าง!
วันรัฐธรรมนูญมีครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เรื่องเดิมมีอยู่ว่าในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามให้รัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธย
ทรงพิจารณาแล้วได้ทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายเพื่อให้รู้ว่าเป็นฉบับชั่วคราวใช้แก้ขัดไปพลางก่อน และได้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานกลับลงมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475
ว่าไปแล้วนี่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเชียวล่ะ แต่ที่ไม่เรียกรัฐธรรมนูญเพราะตอนนั้นยังไม่รู้จักคำนี้ อีกทั้งเราไปถือว่าเป็นฉบับชั่วคราว ประกอบกับครั้งนั้นดูจะเป็นการขู่กลาย ๆ ให้ทรงยอมรับกฎหมายฉบับนี้ โดยทั่วไปจึงไม่ให้ความสำคัญมากนัก บางทีพลอยถือว่าไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับแรกด้วยซ้ำ
หลังจากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมการราษฎรขึ้นมาเป็นเหมือนรัฐบาล มีหัวหน้าเรียกว่าประธานกรรมการราษฎรชื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน) แล้วก็ลงมือตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
คณะอนุกรรมการยอมรับฟังเสียงข้างนอกอยู่มาก แม้แต่การเสนอให้เรียกชื่อกฎหมายใหม่นี้ว่า “รัฐธรรมนูญ” ก็มาจากภายนอก อีกทั้งคณะอนุกรรมการยังรับฟังพระราชกระแสของรัชกาลที่ 7 เป็นระยะ ๆ ทุกอย่างจึงดูจะราบรื่นดี
เมื่อการจัดทำและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นลง รัฐบาลก็เตรียมจะถวายพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แต่เพื่อให้ดูขึงขังศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ขอให้เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสระเกศซึ่งเป็นโหรใหญ่คำนวณฤกษ์อันเหมาะสมสำหรับการพระราชทาน
ท่านให้ฤกษ์ว่าควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคม ช่วงเช้า จึงได้มีรัฐพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคมในวันนั้น พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น) ประธานสภาผู้แทนราษฎร หลังจากนั้นจึงประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันรัฐธรรมนูญตลอดมา แม้จะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมาแล้วสิบกว่าหน แต่ถือว่าเป็นการใช้ชื่อรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกและเป็นฉบับถาวรฉบับแรก ทั้งมีพิธีรีตองสมพระยศพระเกียรติทุกฝ่าย
ฤกษ์ 10 ธันวาคมดูจะศักดิ์สิทธิ์เอาการ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้อยู่นาน 14 ปีจนถึง พ.ศ.2489 จึงยกเลิก ต่อมาในปี 2494 มีการปฏิวัติ ครั้นถึง พ.ศ.2495 ได้มีการนำฉบับนี้ย้อนกลับมาใช้อีกหนโดยแก้ไขบางมาตรา รอบสองนี้ใช้อยู่นานถึง 7 ปี รวมกับรอบแรกกลายเป็น 21 ปี ชีวิตนี้เราคงไม่เห็นรัฐธรรมนูญฉบับไหนของไทยยาวกว่านี้หรอกครับ
ในระดับนานาชาติ วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะมีการประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติใน พ.ศ.2491 จึงมีการฉลองวันที่ 10 ธันวาคมในหลายประเทศ
อ้อ! ธรรมศาสตร์เขาก็จัดงานวันธรรมศาสตร์ในวันนี้ด้วยนะครับ
ปีนี้วันรัฐธรรมนูญเวียนมาบรรจบครบ 80 ปี วันน่ะครบ 80 ปี แต่ตัวรัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่ได้มีอายุครบ 80 ปี บัดนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้เพราะเราขยันฉีก ขยันร่างกันจริง เบื่อก็เปลี่ยน ไม่ชอบบางมาตราก็เปลี่ยนมันทั้งฉบับ คนไม่ดีก็โทษรัฐธรรมนูญ เหมือนรำไม่ดีโทษปี่โทษกลองโทษคนฟังว่าหูไม่ถึงเอง นี่ก็ประกาศกันแล้วว่าวันนี้จะเป็นวัน “คิกออฟ” การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา แต่อย่าดับบ่อยเลยครับ กลัวจะจุดใหม่ให้ติดยาก ยิ่งมีคนอยากแช่แข็งอยู่ด้วย ทีนี้ล่ะแช่ไปแช่มากลายเป็นฟอสซิลหรือต้นไม้กลายเป็นหินหรือ “คิกเอาต์” ไม่รู้ด้วยนะเออ!.
วัน รัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ดังนั้นเพื่อให้รู้ว่าวันรัฐธรรมนูญสําคัญอย่างไร เราลองมาทำความรู้จักความหมายของวันรัฐธรรมนูญกันให้มากขึ้นว่า วันรัฐธรรมนูญคืออะไร มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร รวมถึงวันรัฐธรรมนูญมีความสําคัญมากน้อยแค่ไหน ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลยค่ะ
ความหมายของวันรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
วันรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ
เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก
ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
พระมหากษัตริย์
สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการราษฎร
ศาล
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุนายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
4.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม
2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
6.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช
2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็น กฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ แล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ
อย่าง ไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มี การเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
ทั้ง นี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
คำปรารภ
หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
วันรัฐธรรมนูญไทย
สถาบันที่เกิดใหม่ คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้
หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของวันรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงมี การจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
นอก จากนี้ ยังมีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เข้าใจความหมายของวันรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น

สมัยก่อนช่วงวันที่ 10 ธันวาคมจะมีงานรื่นเริงใหญ่ที่สวนสราญรมย์และทางการส่งเสริมให้ทุกจังหวัด จัดทั่วประเทศเหมือนงานกาชาดทุกวันนี้เรียกว่างานวันรัฐธรรมนูญ ไฮไลต์อยู่ที่การประกวดนางงาม แรก ๆ เรียกว่านางสาวสยาม พอเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นไทยแล้วก็เรียกว่านางสาวไทย
นางสาวสยามคนแรกชื่อกันยา เทียนสว่าง!
วันรัฐธรรมนูญมีครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เรื่องเดิมมีอยู่ว่าในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามให้รัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธย
ทรงพิจารณาแล้วได้ทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” ต่อท้ายเพื่อให้รู้ว่าเป็นฉบับชั่วคราวใช้แก้ขัดไปพลางก่อน และได้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานกลับลงมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475
ว่าไปแล้วนี่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกเชียวล่ะ แต่ที่ไม่เรียกรัฐธรรมนูญเพราะตอนนั้นยังไม่รู้จักคำนี้ อีกทั้งเราไปถือว่าเป็นฉบับชั่วคราว ประกอบกับครั้งนั้นดูจะเป็นการขู่กลาย ๆ ให้ทรงยอมรับกฎหมายฉบับนี้ โดยทั่วไปจึงไม่ให้ความสำคัญมากนัก บางทีพลอยถือว่าไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับแรกด้วยซ้ำ
หลังจากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมการราษฎรขึ้นมาเป็นเหมือนรัฐบาล มีหัวหน้าเรียกว่าประธานกรรมการราษฎรชื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน) แล้วก็ลงมือตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
คณะอนุกรรมการยอมรับฟังเสียงข้างนอกอยู่มาก แม้แต่การเสนอให้เรียกชื่อกฎหมายใหม่นี้ว่า “รัฐธรรมนูญ” ก็มาจากภายนอก อีกทั้งคณะอนุกรรมการยังรับฟังพระราชกระแสของรัชกาลที่ 7 เป็นระยะ ๆ ทุกอย่างจึงดูจะราบรื่นดี
เมื่อการจัดทำและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นลง รัฐบาลก็เตรียมจะถวายพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แต่เพื่อให้ดูขึงขังศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ขอให้เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดสระเกศซึ่งเป็นโหรใหญ่คำนวณฤกษ์อันเหมาะสมสำหรับการพระราชทาน
ท่านให้ฤกษ์ว่าควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคม ช่วงเช้า จึงได้มีรัฐพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคมในวันนั้น พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น) ประธานสภาผู้แทนราษฎร หลังจากนั้นจึงประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันรัฐธรรมนูญตลอดมา แม้จะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมาแล้วสิบกว่าหน แต่ถือว่าเป็นการใช้ชื่อรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกและเป็นฉบับถาวรฉบับแรก ทั้งมีพิธีรีตองสมพระยศพระเกียรติทุกฝ่าย
ฤกษ์ 10 ธันวาคมดูจะศักดิ์สิทธิ์เอาการ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้อยู่นาน 14 ปีจนถึง พ.ศ.2489 จึงยกเลิก ต่อมาในปี 2494 มีการปฏิวัติ ครั้นถึง พ.ศ.2495 ได้มีการนำฉบับนี้ย้อนกลับมาใช้อีกหนโดยแก้ไขบางมาตรา รอบสองนี้ใช้อยู่นานถึง 7 ปี รวมกับรอบแรกกลายเป็น 21 ปี ชีวิตนี้เราคงไม่เห็นรัฐธรรมนูญฉบับไหนของไทยยาวกว่านี้หรอกครับ
ในระดับนานาชาติ วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะมีการประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติใน พ.ศ.2491 จึงมีการฉลองวันที่ 10 ธันวาคมในหลายประเทศ
อ้อ! ธรรมศาสตร์เขาก็จัดงานวันธรรมศาสตร์ในวันนี้ด้วยนะครับ
ปีนี้วันรัฐธรรมนูญเวียนมาบรรจบครบ 80 ปี วันน่ะครบ 80 ปี แต่ตัวรัฐธรรมนูญฉบับนั้นไม่ได้มีอายุครบ 80 ปี บัดนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้เพราะเราขยันฉีก ขยันร่างกันจริง เบื่อก็เปลี่ยน ไม่ชอบบางมาตราก็เปลี่ยนมันทั้งฉบับ คนไม่ดีก็โทษรัฐธรรมนูญ เหมือนรำไม่ดีโทษปี่โทษกลองโทษคนฟังว่าหูไม่ถึงเอง นี่ก็ประกาศกันแล้วว่าวันนี้จะเป็นวัน “คิกออฟ” การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา แต่อย่าดับบ่อยเลยครับ กลัวจะจุดใหม่ให้ติดยาก ยิ่งมีคนอยากแช่แข็งอยู่ด้วย ทีนี้ล่ะแช่ไปแช่มากลายเป็นฟอสซิลหรือต้นไม้กลายเป็นหินหรือ “คิกเอาต์” ไม่รู้ด้วยนะเออ!.
วัน รัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ดังนั้นเพื่อให้รู้ว่าวันรัฐธรรมนูญสําคัญอย่างไร เราลองมาทำความรู้จักความหมายของวันรัฐธรรมนูญกันให้มากขึ้นว่า วันรัฐธรรมนูญคืออะไร มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร รวมถึงวันรัฐธรรมนูญมีความสําคัญมากน้อยแค่ไหน ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลยค่ะ
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็น กฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ แล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ
อย่าง ไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มี การเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
ทั้ง นี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สถาบันที่เกิดใหม่ คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้
หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของวันรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงมี การจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
นอก จากนี้ ยังมีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เข้าใจความหมายของวันรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น